ความผิดทางคดีแพ่ง

ความผิดถ้าคดีแพ่งนั้นเป็นความผิดโดยส่วนมากจะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายหรือตัวเงิน เป็นความผิดอันยอมความได้ ไม่เหมือนกับความผิดทางอาญา ซึ่งความผิดทางอาญาอย่างหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่อีกอย่างหนึ่งเป็นความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดินไม่สามารถยอมความได้

ดังนั้น บางคนเมื่อทำความผิดที่เป็นคดีทางแพ่ง จึงไม่ค่อยเกรงกลัวกฎหมายเท่าไหร่ เนื่องจากไม่มีโทษจำคุกนั่นเอง มีแต่โทษปรับอาจจะเสียเงินเสียทอง ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายไป อาจจะจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้างแล้วแต่อารมณ์ บ้านเรามันเป็นซะอย่างนี้ ความรับผิดชอบไม่ค่อยจะมี

ตามที่จริงแล้วหากเราเป็นผู้กระทำละเมิดหรือทำให้ผู้อื่นเสียหายและเราต้องชดใช้เป็นตัวเงิน น่าจะมีระเบียบวินัยในการใช้คืนความเสียหายเหล่านั้น เพราะว่ามันบ่งบอกถึงนิสัยใจคอของตัวเราอีกด้วยว่าเป็นคนอย่างไรมีความรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่ขี้แล้วหนีไม่เช็ดไม่ล้างไม่สนใจ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ คนแบบนี้ทำอะไรไม่มีทางเจริญมีแต่จะล่มจมลงไปทุกวัน ใครเขาจะจ้างท่านไปทำงาน หรือไปร่วมงานกับท่านด้วย เมื่อเห็นความรับผิดชอบอันหย่อนยานของท่านแล้ว พูดเรื่องคดีแพ่ง ออกนอกเรื่องไปยันเรื่องความรับผิดชอบของมนุษย์เรา เป็นไปได้

คดีแพ่งทางตัวผู้เสียหายต้องเป็นคนริเริ่มร้องฟ้องต่อศาล เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเริ่มดำเนินการให้ท่านได้ อันนี้เป็นระเบียบกำหนดเอาไว้ว่าต้ท่านต้องเป็นคนเริ่ม เพราะว่าท่านนั้นเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของคู่กรณี ไม่เหมือนกับคดีอาญาที่เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน กรณีนี้แม้ไม่มีผู้เสียหาย ทางเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการทางด้านคดีได้ ในทันที มันต่างกันเช่นนี้เอง

ยกตัวอย่างคดีแพ่ง เช่น ผิดสัญญาซื้อขาย , ผิดสัญญาจ้างทำของ ,ละเมิด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น